Archive by Author
รอบรู้เรื่อง แชล๊ค(Shellec)
แชลแล็ค (Shellac)
แชลแล็คเป็นวัสดุเคลือบผิวที่รู้จักกันมาแต่โบราณ วัตถุดิบหลักคือรังครั่งที่เติบโตตามต้นก้ามปูหรือต้นสะแกในบ้านเรา โดยเอารังครั่งมาละลาย รีดเป็นแผ่นตากแห้งกลายเป็นแผ่นบาง ๆ ที่เรียกว่าแชลแล็คเกร็ดนั่นเอง
ประเภทของแชลแล็ค
- แชลแล็คสีตามธรรมชาติ แชลแล็คนี้ส่วน มากจะเป็นเกร็ด ขายเป็นกิโล มีสีน้ำตาล แดงและสีเหลือง เมื่อทาบนไม้จะทำให้ไม้นั้นสดใสขึ้น โดยทำให้สีของเนื้อไม้เปลี่ยนไปด้วย การใช้ต้องนำมาผสมกับตัวละลายเอง
- แชลแล็คสี หรือเรียกอีกอย่างว่า แชลแล็ค สำเร็จ แซลแล็คสำเร็จนี้มีหลายสี บรรจุสำเร็จอยู่ในขวดหรือกระป๋อง หาซื้อได้ตามร้านค้าทั่วไป สามารถนำมาทาได้ทันที มีหลายสี เช่น แชลแล็คสีแดง สีโอ้ค สีเหลือง สีประดู่ เป็นต้น
- แชลแล็คขาว เป็นแซลแล็คเกร็ดที่ผ่านการฟอกสีมาแล้ว เป็นเม็ดผงสีเหลืองอ่อน ๆ เมื่อจะใช้ต้องนำมาผสมกับนํ้ามันแอลกอฮอล์ ประมาณ แชลแล็คขาว 1 ส่วน ต่อแอลกอฮอล์ 2 ส่วนโดยปริมาตรแล้วแช่ทิ้งไว้อย่างน้อย 12 ชั่วโมง จึงนำมาใช้ได้
คุณสมบัติของแชลแล็ค
- ตัวละลายหรือนํ้ามันผสมใช้แอลกอฮอล์เท่านั้น
- ไม่ทนต่อนํ้า ความชื้น หรือความร้อน
- ขัดตกแต่งขึ้นเงาพอสมควร
- ใช้ทาเคลือบพื้น และป้องกันการเปลี่ยนสีของเนื้อไม้ได้
- อย่าทาแชลแล็คขณะฝนตก หรือมีอากาศชื้น เพราะทำให้เกิดฝ้า ไม่เป็นเงา
- การทาแชลแล็คไม่ทาช้ามากจนเกินไป
ลำดับขั้นการทาแชลแล็ค
การทาแชลแล็คจริง ๆ แล้วจะใช้กับงานที่ไม่ค่อยประณีตมากนัก เช่น ทาโต๊ะ เก้าอี้ หรือบานประตู หน้าต่าง แต่งานที่ต้องการความประณีตจริง ๆ แล้ว หน้าที่ของแชลแล็คเป็นเพียงแค่รองพื้นเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ก็มีลำดับขั้นการทาเคลือบผิวด้วยแชลแล็คดังนี้
- ขัดผิวงานด้วยกระดาษทราย ถ้ามีรอยแตกร้าว หรือฝังหัวตะปูก็ให้ใช้ดินสอพองบดผสมแชลแล็คอุดโป๊วรูรอยแตกเสียก่อน แล้วค่อยขัดด้วยกระดาษทราย
- ละลายดินสอพองกับนํ้าให้ข้นพอสมควร แล้วทาด้วยเศษผ้า ละเลงบนผิวงานให้ทั่ว ทิ้งไว้ให้แห้ง ทั้งนี้เพื่อดินสอพองอุดในรูของเสี้ยนไม้นั่นเอง
- ขัดด้วยกระดาษทรายเพื่อให้ดินสอพองที่อยู่บนพื้นไม้ออก คงเหลือเฉพาะที่อุดเสี้ยนไม้เท่านั้น
- เมื่อขัดเรียบร้อยดีแล้ว ใช้เศษผ้าเช็ด ปัดฝุ่นออกให้หมด แล้วจึงนำแชลแล็คที่หมักไว้แล้วมาทาด้วยแปรงขนกระต่ายสัก 2 รอบ
- เมื่อแห้ง ใช้กระดาษทรายเบอร์ละเอียดลูบ หรือขัดเบา ๆ ให้เรียบ
- ใช้แปรงจุ่มแชลแล็คทาอีก 1-2 รอบโดยแต่ละรอบทิ้งเวลาห่างกัน 5-10 นาที
- หากเป็นแซลแล็คสำเร็จ ไม่ต้องผสม ทาได้เลย
ทักษะการใช้และการเก็บรักษา เครื่องมือประเภทวัด
ทักษะในการใช้และเก็บรักษาเครื่องมือวัด
เครื่องมือวัด (Measuring Tool) คือ เครื่องมือสำหรับใช้ในการวัดเพื่อบ่งชี้บอกระยะหรือขนาดในการกำหนดตำแหน่ง ตรวจสอบระยะหรือขนาดความกว้าง ความยาว ความสูงหรือความหนาของวัสดุชิ้นงาน ฯลฯ เครื่องมือวัดมีหลายชนิด แต่ละชนิดมีลักษณะ รูปร่างที่แตกต่างกันตามประโยชน์ใช้สอบในทางช่างนั้น ๆ สำหรับเครื่องมือวัดที่ใช้ในทางช่าง ที่ตัวเครื่องมือวัดมีหน่วยมาตรฐานการวัดมีหน่วยเป็นนิ้ว ฟุตและหน่วยเมตริกกำกับไว้ในเครื่องมือวัดชนิดเดียวกันเพื่อสะดวกในการใช้ งาน ดังนั้น ช่างไม้หรือช่างก่อสร้างควรเรียนรู้เรื่องหน่วยมาตรฐานการวัดและเครื่องมือ วัดที่สำคัญ ดังนี้ • บรรทัดเหล็กหรือฟุตเหล็ก (Steel Rule) • ตลับเมตร (Tape Rule) • ฉาก (Squares)
• ระดับน้ำ (Level)
หน่วยการวัด ก่อนการใช้เครื่องมือวัด ผู้ใช้ต้องแน่ใจว่าสามารถอ่านค่าหน่วยต่าง ๆ ที่กำหนดไว้บนเครื่องมือวัดได้อย่างถูกต้อง สำหรับหน่วยการวัดที่ระบุไว้ในเครื่องมือวัดที่ใช้ในงานช่างไม้ก่อสร้าง มีหน่วยการวัดแบ่งได้ 2 ระบบ ดังนี้ • ระบบเมตริก (Metric System of Measurement) • ระบบอังกฤษ (English System of Measurement)
ระบบเมตริก มีหน่วยการวัด ดังนี้ มิลลิเมตร ใช้อักษรย่อ มม. (mm.) ตัวอย่างเช่น 2 มม. อ่านว่า ความยาวสองมิลลิเมตร เซนติเมตร ใช้อักษรย่อ ซม.(cm.) ตัวอย่างเช่น 10 ซม. อ่านว่า ความยาวสิบเซนติเมตร เมตร ใช้อักษรย่อ ม. (m.) ตัวอย่างเช่น10 เมตร อ่านว่า ความยาวสิบเมตร หน่วยของการวัดในระยะความยาว 1 เซนติเมตร (10 มม.) และ (25.4 มิลลิเมตร = 1 นิ้ว)
ระบบอังกฤษ มีหน่วยการวัด ดังนี้
1. นิ้ว ใช้เครื่องหมาย ( ” ) ตัวอย่างเช่น 1 ” อ่านว่า ความยาวหนึ่งนิ้ว 2. ฟุต ใช้เครื่องหมาย ( ’ ) ตัวอย่างเช่น 4 ’ อ่านว่า ความยาวสี่ฟุต
การอ่านค่าระบบนิ้ว
หลักการแบ่งสเกลของระบบอังกฤษ มี 4 แบบคือ
1 นิ้วแบ่งเป็น 8 ช่อง
1 ช่องเท่ากับ เศษ 1 ส่วน 8 นิ้ว
ระยะ ก อ่านได้ เศษ 13 ส่วน 16 นิ้ว
ระยะ ข อ่านได้ 1 เศษ 1 ส่วน 16 = 1 นิ้ว ครึ่งหุน
ระยะ ค อ่านได้ 1 เศษ 7 ส่วน 16 = 1 นิ้ว 3 หุนครึ่ง
ระยะ ง อ่านได้ 2 เศษ 5 ส่วน 8 นิ้ว = 2 นิ้ว 5 หุน
1 นิ้วแบ่งเป็น 32 ช่อง
1 ช่องเท่ากับ 1 ส่วน 32 นิ้ว
ระยะ ก อ่านได้ 3 ส่วน 32 นิ้ว
ระยะ ข อ่านได้ 9 ส่วน 32 นิ้ว
ระยะ ค อ่านได้ 1 เศษ 11 ส่วน 32 นิ้ว
ระยะ ค อ่านได้ 1 เศษ 11 ส่วน 32 นิ้ว
ระยะ ง อ่านได้ 2 เศษ 4 ส่วน 32 นิ้ว เท่ากับ 2 เศษ 1 ส่วน 8 นิ้ว หรือ 2 นิ้ว 1 หุน
ตัวอย่างการอ่านสเกลการวัดจากเครื่องมือวัด
การวัดความยาวเป็นนิ้วเป็นระบบอังกฤษ ปัจจุบันบ้านเราใช้ระบบ Metric หรือระบบ SI ที่วัดความยาวเป็นเมตร (มิลลิเมตร-เซนติเมตร) ผสมกันไป
หนึ่งนิ้วก็แบ่งเป็นแปดส่วน ….. 1/8 นิ้ว
ภาษาช่างบ้านเรา … เรียก 1 หุน = 0.125 นิ้ว = 3.175 มิลลิเมตร 1/4 นิ้ว ก็คือ 2/8 … เรียก 2 หุน 3/8 นิ้ว ……………. เรียก 3 หุน 1/2 นิ้ว …………… เรียก 4 หุนบ้าง ครึ่งนิ้วบ้าง จากนั้น ก็ไปถึง 5 หุน 6 หุน 7 หุน ไม่มี 8 หุน เพราะ 8/8 = 1 นิ้ว ก็เรียก 1 นิ้ว ย่อยครึ่งของ 1/8 ไปที่ 1/16 ก็เรียก……………… ครึ่งหุน ถ้าย่อยครึ่งของ 1/16 ไปที่ 1/32 เรียก …………. หลี ครึ่งหุนหลี ก็คือ 3/32 นิ้ว
1. ไม้บรรทัดเหล็กหรือฟุตเหล็ก ใช้สำหรับวัดระยะสั้น ๆ และขีดเส้น
2. ตลับเมตร ใช้สำหรับวัดระยะ ลักษณะเป็นตลับสี่เหลี่ยมขนาดพอจับมือ ตัวตลับทำด้วยโลหะหรือพลาสติก ส่วนแถบวัดทำด้วยเหล็กบางเคลือบสี ปลายของแถบวัดมีขอเกี่ยวเล็ก ๆ ติดอยู่
การใช้ตลับเมตร
1. มือหนึ่งจับปลายเทปแล้วดึงออกจากตลับ
2. ใช้ขอปลายเทปเกี่ยวหัวไม้ที่ตรงและได้ฉาก
3. ทำเครื่องหมายตามระยะที่ต้องการ
การบำรุงรักษา
1. ระวังรักษาขอเกี่ยวปลายเทปไม้ให้หัก
2. เมื่อปล่อยเส้นเทปกับที่เดิมค่อย ๆ ผ่อน ถ้าปล่อยให้กลับเร็วเกินไปปลายขอที่เกี่ยว และคอยใช้มือประคองเส้นเทปก่อนที่ขอเกี่ยวจะไปกระทบกับตัวตลับ ซึ่งจะทำให้ขอเกี่ยวหลุดหรืคลาดเคลื่อนและอาจชำรุดเสียหาย
3. การใช้ตลับเมตรที่ถนอมคือต้องไม่ดึงสายวัดออกมาจนสุด
4. ทำความสะอาดหลังเลิกใช้แล้วเก็บให้เป็นระเบียบ
ทั้งนี้เราจะนำตลับเมตรไปวัดอะไรก็ได้ตามแต่เราต้องการ ขนาดที่นิยมใช้คือยาว 3.5 เมตร
3. ฉาก เป็นเครื่องมือวัดละเอียดที่ใช้ทางตรงหรือตั้งได้ฉากของงาน รวมทั้งการวัดมุมต่าง ๆ ฉากมีหลายชนิด
3.1 ฉากเหล็ก หรือฉากตาย (Try Square)
คือเครื่องมือที่ใช้เพื่อวัดขนาดการสร้างมุมฉาก ตรวจสอบการได้ฉากของงานชนิดต่าง ๆ หรือใช้วัดขนาดความกว้าง ยาว ลึกของชิ้นงานที่มีขนาดเล็ก มีส่วนประกอบ 2 ส่วนคือ ใบฉาก และด้ามฉาก โดยทั้ง 2 ส่วนยึดติดกันเป็นมุม 90 องศา ความยาวของใบฉากมีตั้งแต่ 6 นิ้วขึ้นไป ซึ่งเป็นขนาดที่นิยมใช้ ที่ใบฉากทั้งสองด้านทุกขนาดมีมาตรส่วนเป็นนิ้ว และเซนติเมตร บอกกำกับไว้ วิธีการใช้งาน การใช้ฉากในงานช่างสามารถใช้งานในลักษณะงานดังต่อไปนี้ 1. ใช้ในการวัดขนาด ฉากมีด้านทั้งสองของใบมีมาตราส่วนเป็นนิ้ว และเซนติเมตรกำกับไว้ฉะนั้นในการใช้ฉากวัดขนาดความกว้างยาวของงาน ใช้วิธีการวัดการวัดขนาดความกว้าง ยาวเหมือนกับการวัดด้วยไม้เมตร หรือตลับเมตร 2. ใช้ในการขีดเส้นฉาก เพราะฉากเหล็กมีลักษณะการประกอบเป็นมุมฉากอยู่แล้ว ดังนั้นการนำด้ามฉากไปแนบกับขอบที่เรียบชิ้นงานใด ทิศทางของใบฉากย่อมทำมุมได้ 90 องศาเสมอ ดังนั้นในการตัดไม้ให้ได้ฉากกับแนวข้างลำตัวไม้ เมื่อนำฉากมาแนบ การขีดเส้นตามแนวของใบฉากคือเส้นที่บอกให้ทราบถึงแนวตัดหัวไม้ได้ฉากเสมอ 3. การใช้ฉากเหล็กเพื่อตรวจสอบมุม 90 องศาของชิ้นงาน เป็นการตรวจสอบโดยนำฉากเหล็กไปแนบในจุดที่ตรวจสอบ แต่การตรวจสอบได้ความเที่ยงตรงมากน้อยแค่ไหนต้องตรวจสอบฉากก่อน
การบำรุงรักษา 1.วางฉากลงบนโต๊ะปฏิบัติงานเบา ๆ และอย่างระมัดระวังเมื่อนำฉากเหล็กไปใช้ในแต่และครั้ง 2.ไม่ควรนำฉากเหล็กไปใช้งานลักษณะอื่น ที่นอกเหนือจากการวัด ขีดเส้น ตรวจสอบมุม วัดขนาดความยาวชิ้นงาน 3.ไม่ควรใช้ฉากในการดัน ที่จะเป็นผลให้จุดการยึดใบฉากกับด้ามฉากยึดกันไม่แน่น ยกเว้นเป็นการทำเพื่อดัดฉากให้ได้ 90 องศา 4.ทำความสะอาดฉากให้ปราศจากฝุ่นและทราย ก่อนเช็ดด้วยน้ำมันเครื่อง เพื่อกันสนิท 5. ไม่ใช้ด้ามฉากเคาะหรือตอกแทนค้อน
6. ระมัดระวังอย่าให้ฉากตกลงพื้นเพราะจะทำให้ฉากคลาดเคลื่อนจากความเที่ยงตรง
7.เก็บฉากไว้ในที่เรียบ ไม่วางทับซ้อนกับเครื่องมือชนิดอื่น ซึ่งจะมีผลเสียต่อฉากจะบิดงอได้
ฉากตาย
3.2 ฉากเป็น (Bevel Gauge) ใช้วัดมุมต่าง ๆ นอกจากมุม 90 องศา 45 องศา สามารถถอดแยกจากกันได้ ลักษณะเป็นด้ามไม้และพลาสติก และมีส่วนที่เป็นโลหะแบน หรือเรียกว่า ใบฉาก ยึดด้วยสกรูที่สามารถเป็นจุดหมุนในการวัดมุม สำหรับการตัดชิ้นงานไม้ บัวไม้ ไม้เข้ามุม เดือยไม้ และวัดองศาตามความต้องการ ความพิเศษของเครื่องมือช่างชนิดนี้ คือ สามารถวัดมุมได้เป็นองศาและสามารถแบ่งวงกลมออกเป็น 180 ส่วน สร้างมุม 360 องศา 90 องศา หรือ 1 ใน 4 ของวงกลมได้ด้วยเช่นกัน การใช้งานฉากเป็นให้เริ่มจากการหามุม จุดตัด หรือจุดยอดของมุมที่ต้องการวัด จากนั้นให้คลายสกรูที่ฉากเป็นแล้วเลื่อนส่วนใบฉาก เพื่อให้สามารถกดด้ามให้แนบกับข้างหนึ่งของมุม และให้ใบฉากแนบกับอีกด้านหนึ่งได้ จับด้ามและใบฉากให้แนบกับมุมตัวอย่างนั้น ขันสกรูให้แน่น นำฉากเป็นมาที่ชิ้นงานที่ต้องการนำเข้าไปติดตั้ง วางส่วนด้ามให้แนบกับด้านหนึ่ง แล้วลากเส้นไปตามขอบขอบใบฉาก เพื่อสร้างมุมที่มีขนาดเท่ากับมุมต้นแบบได้อย่างสมบูรณ์
ฉากเป็น
3.3 ฉากปรับองศา
ใช้วัดมุมต่าง ๆ นอกจากมุม 90 องศา 45 องศา ลักษณะเป็นโลหะแบน ใบฉาก ยึดด้วยสกรูที่สามารถเป็นจุดหมุนในการวัดมุม และใช้ควบคู่กับเครื่องมือช่างที่ใช้ไฟฟ้าในการตัดชิ้นงาน และวัดองศาตามความต้องการ ความพิเศษของเครื่องมือช่างชนิดนี้ คือ สามารถวัดมุมได้เป็นองศาและสามารถ สร้างมุม 30 องศา ถึง 150 องศา
4. ระดับน้ำ (Level)
ระดับน้ำ ใช้สำหรับวัดพื้นผิวว่าได้ระดับหรือไม่ มีหลอดแก้ว 3 หลอดวางไว้ตั้งฉากกัน และทแยง 45 องศา ลักษณะของเครื่องมือชนิดนี้จะเป็นอะลูมิเนียมหรือพลาสติก ยาวประมาณหนึ่งศอก มีช่องใส ๆ หลายช่อง แต่ละช่องจะมีหลอดแก้ว ที่มีของเหลวที่มีสีอยู่ข้างใน ในของเหลวนั้นจะมีฟองอากาศขนาดเท่าเมล็ดถั่ว เมื่อลองขยับระดับน้ำดู จะสังเกตเห็นว่าฟองอากาศนั้นจะเคลื่อนที่ไปด้วย ซึ่งระดับน้ำนั้นมีอยู่หลายขนาด โดยส่วนใหญ่ใช้ขนาด 24 นิ้ว (60 เซนติเมตร) ใช้ขนาด 4 ฟุต(1.2 เมตร) หรือ 6 ฟุต (1.8 เมตร) สำหรับประตูและหน้าต่าง ระดับน้ำแบบที่มีตาวัว (แป้นวงกลม) ใช้แสดงทิศทางของการเอียง การใช้งานเครื่องมือช่างดังกล่าวให้ดูที่ระดับน้ำ ว่าหลอดแก้วหลอดไหนใช้วัดระดับในแนวราบและหลอดไหนวัดแนวดิ่ง วางระดับน้ำลงบนพื้นผิวที่ต้องการตรวจสอบ ดูที่ฟองอากาศ ถ้าฟองอากาศลอยไปอยู่ที่ตรงกลางของหลอดแก้วแสดงว่าพื้นได้ระดับในแนวราบแล้ว แต่ถ้าฟองอากาศไม่อยู่ตรงกลาง แสดงว่าพื้นเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง ถ้าต้องการรู้ว่าเอียงทางใดและเอียงมากแค่ไหน ให้ลองยกปลายของระดับน้ำขึ้นด้านหนึ่ง แล้วดูว่าฟองอากาศเลื่อนไปทางไหน เมื่อฟองอากาศอยู่ตรงกลาง จะเห็นว่ามีช่องว่างระหว่างพื้นกับขอบของระดับแล้ว จะเห็นว่าเอียงมากเพียงใด หากพื้นได้ระดับแนวราบแล้ว ให้หมุนระดับน้ำไปที่ 90 องศา แล้วตรวจดูอีกครั้ง จะพบว่าพื้นอาจจะได้ระดับในด้านหนึ่ง แต่เอียงในอีกด้านหนึ่ง ถ้าพื้นได้ระดับจริง ๆ ในทุกทิศทาง ฟองอากาศจะต้องอยู่ตรงกลางหลอดแก้วเสมอ ไม่ว่าจะหมุนระดับน้ำไปทางใดก็ตาม
เทคนิคการใช้ไม้บรรทัดวัดและการวัด
การใช้เครื่องมือประเภทวัด ชนิดต่างๆ นั้นมีเทคนิคและวิธีการใช้งานที่แตกต่างกันตามลักษณะงานดังนี้
ขั้นตอนที่ 1
หากต้องการตีเส้นที่คมและเส้นเล็ก ควรเลือกใช้ดินสอที่เหลา ปลายแหลมหรือใช้เหล็กแหลม สำหรับงานที่ต้องการความละเอียด
ขั้นตอนที่ 2
การขีดเส้นตามแนวของไม้บรรทัด จะต้องกดให้ไม้บรรทัดหรือเหล็กพุกนั้น แนบกับผิว ของชิ้นงานโดยกดไม้บรรทัดด้วยนิ้วให้แน่นแล้วจึงขีดเส้น แนบกับ บรรทัดตามแนว ตั้งฉากกับชิ้นงาน
ขั้นตอนที่ 3
การแบ่งส่วนของหน้าไม้ให้เท่ากัน นั้นสามารถจัดระยะได้ด้วยการทาบ ไม้บรรทัดลง ตามหน้าไม้ ขยับให้ได้ตัวเลขที่จำนวนเต็มพอดี ตามที่เราต้อง
การแบ่งส่วน แล้วจึงทำ เครื่องหมายระยะที่หารลงตัวก็จะได้ช่องไฟที่เท่ากัน
ขั้นตอนที่ 4
หากต้องการขีดเส้นให้ใด้ฉากในงานเฟอร์นิเจอร์ การขีดเส้นบนไม้นั้นจะใช้ฉากทาบกับ ส่วนหนาของหน้าไม้ให้สนิทกัน จะขีดได้เส้นที่ตั้งฉากกับไม้
ขั้นตอนที่ 5
การตรวจสอบดูว่าไม้ที่กำลังใช้อยู่นั้น ได้ฉากตามที่ต้องการหรือไม่ / ต้องการตรวจดูว่าไม้นั้นเรียบเท่ากันทั้งแผ่นหรือไม่ สามารถใช้ฉากนั้นทาบกับตัวไม้วัดดูในการวัดนั้นให้ขอบของฉากวัดแนบสนิทกับไม้อีกด้านหนึ่ง ส่องผ่านแสงดูว่ามีช่องว่างอยู่ตรงไหน นั้นคือส่วนที่เกินออกมาไม่ได้ฉาก และไม่เรียบต้อง ไสออก
ขั้นตอนที่ 6
วิธีการขีดเส้นให้ห่างจากขอบเท่ากันนั้น สามารถทำได้ด้วยการใช้ฉากแบบปรับระยะได้วัดขนาดของเส้นขอบที่ต้องการขีด แล้วลากเส้นตามขนาดที่ทำ เครื่องหมายไว้ โดยให้ขอบของฉากแนบกับหน้าไม้
ขั้นตอนที่ 7
ฉากประเภทปรับมุมมีขนาดองศาบอก ความเอียงนั้นเหมาะสำหรับการทำงานประเภท วัดมุมของชิ้นไม้ ในกรณีไม่เป็นมุมฉาก หรือใช้สำหรับการร่างแบบ
ขั้นตอนที่ 8
ฉากปรับมุมอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งสามารถที่จะปรับให้ไม้ฉากนั้นทำมุมนอกจากมุมฉาก(90องศา) ได้ด้วยการ หมุนคลายล็อคที่จุดหมุน แล้วเอียงตัวไม้บรรทัดให้เอียงตาม มุมที่ต้องการแล้วจึงหมุนล็อคก่อนนำไปขีดเส้นมุมนั้นๆ
ขั้นตอนที่ 9
การกำหนดขนาดความกว้างของรูเดือยที่จะนำมาเจาะทำเดือยเฟอร์นิเจอร์ สามารถทำได้ด้วยการใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า ขอขีดไม้ โดยนำสิ่วที่เจาะรู เดือยมาทาบความกว้างของหน้าสิ่ว ปรับตั้งให้เข็มขีดเส้นใหญ่กว่าเล็กน้อย แล้วจึงค่อยหมุนล็อค ส่วนการนำไปใช้งานให้ทาบส่วนที่เรียบเข้ากับหน้าไม้
5. ขอขีดไม้ (Marking Gauge)
ขอขีดไม้ เป็นเครื่องมือช่างที่ใช้สำหรับการสร้างรอยขีดที่ขนานกับขอบนชิ้นงาน ซึ่งจะสามารถนำไปใช้ขีดชิ้นงานอื่นๆ ให้มีขนาดเท่ากันได้หลายชิ้น เครื่องมือชนิดนี้มีลักษณะเป็นชิ้นไม้ที่ตั้งฉากกัน ส่วนปลายมีโลหะแหลมที่เรียกว่า ขา (Beam) ต่อยื่นออกมา ชิ้นไม้ชิ้นที่สองเราเรียกว่าส่วนหัว ซึ่งจะมีสกรูแบบที่มีหางปลาติดอยู่ เมื่อคลายสกรูออก จะสามารถเลื่อนตำแหน่งของหัวไปบนขาได้ แต่ถ้าขันสกรูให้แน่น ก็จะเป็นการล็อคตำแหน่งนั่นเอง การใช้งานเครื่องมือช่างชนิดนี้ เริ่มด้วยการคลายสกรู และเลื่อนส่วนหัวของขอขีดให้ได้ตามระยะที่ต้องการ แล้วจึงขันสกรู ถือขอขีดที่ส่วนหัวให้ส่วนของขาอยู่ในแนวระดับ และเริ่มทำการขีดจากปลายด้านที่อยู่ไกลก่อน กดให้หน้าของหัวขอขีดแนบอยู่กับขอบไม้ แล้วบิดส่วนหัว เพื่อให้ปลายแหลมของขอขีดแตะกับไม้ โดยที่ยังคงให้ส่วนหัวแนบอยู่กับชิ้นงาน และดึงขอขีดเข้ามาหาตัว สุดท้ายตรวจสอบดูชิ้นงานว่าได้รอยขีดตามที่ต้องการหรือไม่
ประโยชน์ของขอขีดไม้
ขอขีดไม้ จะช่วยทำครื่องหมาย วัดได้รวดเร็วและแม่นยำ โดยการขีดเครื่องหมายบรรทัดขนานไปที่ขอบของชิ้นงานไม้ ซึ่งขอขีดไม้นี้ยังมีประโยชน์มากกว่าดินสอไม้ในแง่ที่มีปลายเหล็กแหลมเป็นตัวช่วยทำตำแหน่งได้ชัดเจน
การใช้ขอขีด
คลายสลักหรือลิ่มออก แล้ววัดระยะห่างจากปลายเข็มกับด้ามให้ขนานตามที่แบบกำหนดแล้วล๊อคให้แน่น จับขอขีดด้านที่มีเข็มให้แนบสนิทกับไม้ กดดันไปข้างหน้า ให้ปลายเข็มขีดผิวไม้ ตลอดแนวที่ต้องการ
การบำรุงรักษา
1. ควรทำความสะอาดหลังใช้
2. ทาน้ำมันส่วนที่เป็นโลหะ
3. เก็บให้เรียบร้อย
กระดาษทรายกับงานไม้
กระดาษทรายที่ใช้กับงานขัดไม้ ก่อนการทำสี
การขัดด้วยกระดาษทราย
การขัดไม้ก่อนทำสี จะมีลำดับการทำงานคือ การขัดหยาบ ขัดเรียบ ขัดละเอียด
ขัดหยาบ (Leveling) – เป็นการขจัดจุดบกพร่องบนพื้นผิว ลบรอยจากเครื่องจักร/เครื่องมือ ให้ใช้เบอร์ 120 หรือ P120 แต่หากผิวหยาบมาก ก็ให้ใช้ 80 หรือ P80 ก่อน จึงตามด้วย 120 หรือ P120
ขัดเรียบ (Uniforming) – เป็นการลดรอยกระดาษทรายจากขั้นตอนแรก ให้ใช้เบอร์ 180 หรือ P180 สำหรับงานที่ไม่ต้องการความละเอียดมาก ก็สามารถขัดถึงขั้นนี้ แต่หากเป็นงานเฟอร์นิเจอร์ ควรขัดละเอียดต่อไปอีก
ขัดละเอียด (Polishing) – เป็นการขัดที่ทำให้พื้นผิวราบเรียบ จนมองไม่เห็นรอยกระดาษทราย (ด้วยตาเปล่า) ให้ใช้เบอร์ 240 หรือ P280
การขัดผิวสีเคลือบ ให้ขัดด้วยเบอร์ 320 หรือ P400
การขัดให้ขัดตามลำดับ อย่าขัดข้ามเบอร์ จะทำให้เสียเวลา และเปลืองกระดาษทราย
กระดาษทรายขัดไม้มี เบอร์ตั้งแต่ 0-5 เบอร์น้อยยิ่งมีความละเอียดมาก เวลาขัดนิยมตัดหรือพับให้เป็นรูปสี่เหลี่ยม ใช้ไม้เป็นตัวรอง หรือใช้พับทบไปมาแล้วลูบด้วยมือก็ได้
กระดาษทราย ตราจระเข้
การนำไปใช้งาน
– ใช้สำหรับขัดไม้ ทำเป็นแผ่นสำเร็จมาขนาดประมาณ A4 มีเบอร์ที่นิยมอยู่ระหว่าง 0-5 เบอร์ยิ่งมากก็ ยิ่งหยาบ บางทีก็เอาเบอร์0ไปขัดในระหว่างงานสี ได้ด้วยเช่นกัน กระดาษทรายชนิดนี้ใช้กันมานานมากแล้ว เนื้อทรายจะไม่หนามาก ตัวกระดาษทรายจะอ่อนกว่า ไม่สามารถขัดร่วมกับน้ำได้
กระดาษทรายแดง
การนำไปใช้งาน
-ใช้กับงานขัดไม้ นิยมขายเป็นม้วน แบ่งขายเป็นเมตร ตัดแบ่งขัดกับเครื่องขัดสั่นก็ได้ หรือจะขัดกับมือก็ได้ มีเบอร์ที่หยาบ-ละเอียด เช่นกัน ให้เนื้อกระดาษทรายมากกว่าแบบแผ่นสีเหลือง เนื้อกระดาษแข็งกว่า มีเนื้อทรายมากกว่า นอกจากนี้ยังมีผลิตมาแบเป็นผ้าทรายด้วยเช่นกัน
กระดาษทรายสายพาน
การนำไปใช้งาน
– ใช้กับเครื่องขัดสายพาน(รถถัง) มีเบอร์ หยาบ-ละเอียด ที่นิยมได้แก่ 60 – 80 -100 – 120 เป็นต้น ยิ่งเบอร์มากก็จะให้ความละเอียดของกระดาษทรายมาก
กระดาษทรายที่ใช้กับงานสี
– งานสีพ่น
กระดาษทราย ยูรีเทน หรือกระดาษทรายนม หรือกระดาษทรายสบู่
การนำไปใช้งาน
– ใช้กับการขัดแลคเกอร์หรือยูรีเทน จะให้การขัดที่รักษาผิวไม่เป็นรอยลึก และขัดง่าย จะมีลักษณะของเนื้อทรายที่ผสมสารชนิดหนึ่งที่ทำให้การขัดสีทำได้ง่าย สีหลุดไม่จับกระดาษทราย มีการแบ่งเบอร์ตามลักษณะการทำงานเช่น 180 – 220 – 240 – 280 เป็นต้น ยิ่งเบอร์มากขึ้นก็ยิ่งจะมีความละเอียดของผิวกระดาษทรายมากขึ้น
ประเภทของไขควงและวิธีการบำรุงรักษา
ไขควง หรือ Screw Drier ถือว่าเป็นเครื่องมือช่างที่สำคัญสำหรับช่างไฟฟ้าเป็นอย่างมาก นิยมใช้สำหรับรื้อถอดประกอบอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ต่อฟิวส์ ประกอบดวงโคมไฟ หรือซ่อมสวิทซ์ปลั๊กไฟฟ้าถอดตะปูเกลียวและอื่นๆอีกมามาย โดยส่วนมากไขควงจะทำด้วยเหล็กอย่างดี บริเวณส่วนปลายหรือปากจะเหล็กแข็งชุบ ส่วนด้ามจะเป็นพลาสติกหรือยางเผื่อต้องกันการเจ็บมือ ไขควงสามารถแบ่งออกได้หลายประเภทคือ
–ไขควงแบบทั่วไป (Standard type) เป็นไขควงแบบธรรมดา มีหลายขนาด ขนาดเล็กและขนาดใหญ่ มีสั้นและยาว มี 2 แบบ คือ ไขควงปากแบนและไขควงปากแฉก
–ไขควงออฟเซต (Offset type) จะมีลักษณะเด่นคือ รูปร่างจะงอเป็นมุมฉากและมีที่จับตรงกลาง เหมาะสำหรับการใช้งานในที่ที่ไม่สามารถเข้าถึงซึ่งไขควงแบบทั่วไปจะทำไม่ได้
–ไขควงวัดไฟ (Screwdrivers Mains Tester) เป็นไขควงที่ใช้สำหรับการทดสอบวงจรไฟฟ้า ไขควงวัดไฟมีอยู่2แบบ คือไขควงวัดไฟ แบบธรรมดาจะมีหลอดไฟอยู่ที่ด้ามจับ และไขควงวัดไฟ แบบตัวเลขดิจิตอล
วิธีการใช้ไขควงและบำรุงรักษาไขควง
1. ห้ามใช้ด้ามไขควงทุบวัตถุแทนค้อน
2. ห้ามใช้ไขควงงัดหรือแงะแทนการใช้เหล็กสกัดเพราะอาจจะทำให้ไขควงหักหรืองอได้
3. แนะนำให้เลือกใช้ไขควงที่มีฉนวนหรือยางหุ้มเพราะจะช่วยป้องกันกระแสไฟฟ้าและช่วยป้องกันมือ
4. ควรเลือกใช้ไขควงให้ถูกตามลักษณะของงานที่ปฏิบัติ
5. เมื่อไขควงชำรุดหรือเสียไม่ควรนำมาใช้ต่อควรซ่อมหรือซื้อใหม่ทันที เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ
6. เมือเลิกใช้งานไขควงแล้วควรทำความสะอาดแล้วทาน้ำมันหรือกันสนิม เช็ดให้แห้งแล้วเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
ประเภทของค้อน(ฆ้อน)
เครื่องมือประเภทค้อน
บทความนี้จะนำเสนอเกี่ยวกับการใช้งาน และ การบำรุงรักษาเครื่องมือช่างประเภทต่าง ๆ แบบคร่าว ๆ เพราะเป็นสิ่งสำคัญที่ช่างมืออาชีพและช่างมือใหม่ต้องศึกษาไว้ เพราะการใช้งานและการบำรุงรักษาเครื่องมือช่างที่ถูกวิธีนั้น ส่งผลกับตัวผู้ใช้เป็นอย่างมาก ตั้งแต่เรื่องความปลอดภัยในเวลาปฎิบัติงาน รวมไปถึง ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานนั้น ๆ อีกด้วย
เครื่องมือชนิดแรกที่แนะนำคือ “ค้อน” ซึ่งค้อนก็ยังแบ่งได้อีกหลายประเภท ดังนี้
1.1 ค้อนหัวกลม |
- ค้อนหัวกลม
– ลักษณะ : หัวกลมมน หน้าค้อนแบนเรียบ
– การใช้งาน : ใช้้งานกลทั่วไป เช่น ตอกตะปู ย้ำหมุด เป็นต้น
– การบำรุงรักษา : ไม่ใช้ขณะมือเปื้อนน้ำมัน ไม่ใช้ด้ามกระแทกชิ้นงาน อย่าให้ตกจากโต๊ะปฏิบัติงาน อย่าใช้หัวค้อนแทนทั่ง หลังใช้งานเช็ดทำความสะอาด - ค้อนยาง
2.1 ค้อนยาง |
– ลักษณะ : หัวกลมมนผลิตจากยางเป็นหลัก
– การใช้งาน : ใช้งานเฉพาะที่ต้องการไม่ให้งานแตกร้าว ยุบ บุบ ต้องการความปราณีตของงาน
– การบำรุงรักษา : ไม่ใช้ขณะมือเปื้อนน้ำมัน ไม่ใช้ด้ามกระแทกชิ้นงาน อย่าให้ตกจากโต๊ะปฏิบัติงาน อย่าใช้หัวค้อนแทนทั่งหลังใช้งานเช็ดทำความสะอาด
3.1 ค้อนหงอนช่างไม้ |
- ค้อนหงอนช่างไม้
– ลักษณะ : หน้าเรียบใช้ตีตะปู อีกด้านจะมีหงอนไว้ถอนตะปูหรืองัด
– การใช้งาน : ใช้งานเฉพาะที่ต้องการไม่ให้งานแตกร้าว ยุบ บุบ ต้องการความปราณีตของงาน
– การบำรุงรักษา : ไม่ใช้ขณะมือเปื้อนน้ำมัน ไม่ใช้ด้ามกระแทกชิ้นงาน อย่าให้ตกจากโต๊ะปฏิบัติงาน อย่าใช้หัวค้อนแทนทั่งหลังใช้งานเช็ดทำความสะอาด
4.1 ค้อนช่างไฟฟ้า |
- ค้อนช่างไฟฟ้า
– ลักษณะ: หน้าค้อนเป็นสี่เหลี่ยมอีกด้านแบนเรียบ
– การใช้งาน : ใช้สำหรับงานตอกเข็มขัดเดินสายไฟภายในอาคาร
– การบำรุงรักษา : ไม่ใช้ขณะมือเปื้อนน้ำมัน ไม่ใช้ด้ามกระแทกชิ้นงาน อย่าให้ตกจากโต๊ะปฏิบัติงาน อย่าใช้หัวค้อนแทนทั่งหลังใช้งานเช็ดทำความสะอาด5.ค้อนปอนด์
5.1 ค้อนปอนด์ |
– ลักษณะ : เป็นแท่งสี่เหลี่ยมขนาด 1.5 – 3 ปอนด์ ยาวประมาณ
60 ซม.- 1 ม.
– การใช้งาน : ต้องใช้แรงเหวี่ยงมาก ๆ เช่น ตีเหล็ก ตอกหมุด
สกัดหิน
– การบำรุงรักษา : ไม่ใช้ขณะมือเปื้อนน้ำมัน ไม่ใช้ด้ามกระแทกชิ้นงาน อย่าให้ตกจากโต๊ะปฏิบัติงาน อย่าใช้หัวค้อนแทนทั่งหลังใช้งานเช็ดทำความสะอาด
: สำหรับบทความนี้นำเสนอเรื่องค้อนประเภทต่าง ๆ นะครับ ยังเหลือเครื่องมืออีกหลายอย่างที่ผมยังไม่ได้ลง โปรดติดตามได้ในบทความหน้านะค่ะ
ประเภทและคุณสมบัติของก๊อกน้ำที่มีคุณภาพ
ประเภทและคุณสมบัติของก๊อกน้ำที่มีคุณภาพ
ก๊อกน้ำ นับวันจะเป็นเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งชิ้นสำคัญของบ้านไปแล้ว ด้วยรูป
ลักษณ์ดีไซน์และราคาที่แตกต่างกันไป ตั้งแต่ไม่กี่สิบบาทไปจนถึงแสนบาท นอกจากนี้ ก๊อกน้ำของ
แต่ละห้อง แต่ละจุดก็ไม่เหมือนกัน ก๊อกน้ำเป็นอุปกรณ์ที่ทุกบ้านต้องมี ซึ่งจะอำนวยประโยชน์ใน
การใช้สอยแตกต่างกันไป โดยทั่วไปได้แบ่งประเภทก๊อกตามการใช้สอยไว้ 6 ประเภทคือ
1.ก๊อกเดี่ยว ใช้ทั่วไป เช่น ล้างรถ รดน้ำต้นไม้
2.ก๊อกสำหรับอ่างล้างหน้า มี 3 ชนิดคือ ก๊อกเดี่ยว ก๊อกผสมรูเดี่ยว และก๊อกผสมเซ็น
เตอร์
3.ก๊อกซิงค์ เป็นก๊อกสำหรับอ่างล้างจานในครัว หรือตามเคาน์เตอร์บาร์ มีให้เลือกแบบ
น้ำเย็นอย่างเดียวและแบบที่ใช้ทั้งน้ำร้อนและน้ำเย็น
4.ก๊อกอาบน้ำ และก๊อกน้ำที่ใช้กับอ่างอาบน้ำ ประกอบด้วย ฝักบัว วาล์วเปิดปิด ซึ่งแบ่ง
ออกได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ ฝักบัวสายอ่อน ตัวก๊อกน้ำจะหมุนได้รอบตัว เพื่อไม่ให้สายฝักบัวบิดงอ
5.ก๊อกน้ำชำระ
6.ฟลัชวาล์ว เป็นก๊อกน้ำที่ใช้ประกอบกับโถส้วม และโถปัสสาวะ เป็นก๊อกที่ทำงานเกือบ
กึ่งอัตโนมัติ เมื่อเปิดน้ำโดยการเปิดฟลัช น้ำจะหยุดไหลเองโดยอัตโนมัติ
ก๊อกน้ำสำหรับอ่างอาบน้ำและอ่างล้างหน้า ขอแนะนำก๊อกประเภทที่มีวาล์วภายในเป็น
เซรามิควาล์ว เพราะสามารถใช้งานได้ยาวนาน และที่สำคัญสามารถเปิดและปิดน้ำได้สนิทด้วย
ถ้ามีงบประมาณมากและต้องการใช้ก๊อกน้ำทั้งน้ำร้อนและน้ำเย็น ควรเลือกก๊อกน้ำเซรา
มิควาล์วแบบเดี่ยวผสม ที่ช่วยควบคุมอุณหภูมิของน้ำตามที่ต้องการให้อย่างรวดเร็ว และไม่เปลือง
น้ำ
คุณสมบัติทั่วไปของก๊อกน้ำที่มีคุณภาพ
1.ก๊อกน้ำทำจากทองเหลือง ทนทานต่อการกัดกร่อนได้ดี
2.ผิวเคลือบโครเมี่ยม มีลักษณะเป็นมันวาว ทนต่อสารเคมีและรอยขีดข่วนได้ดี
3.ซิลยางและแหวนยางในตัวก๊อก จะต้องมีคุณภาพสูง ทนต่อการใช้งาน ๆ ไม่รั่วซึมง่าย
4.หัวก๊อกของฝักบัว จะต้องหมุนได้รอบตัว เพื่อไม่ให้สายยางของฝักบัวบิดงอ
5.ก๊อกน้ำที่ดีมีระบบปิด-เปิดเพียงรอบเดียว เพื่อการประหยัดน้ำในตัว
มาทำความรู้จัก ปืนยิงกาวร้อน หรือปืนยิงกาวไฟฟ้า กันเถอะ!!
สำหรับเพื่อน ๆ ที่รักงานประดิษฐ์ หรือแวะเวียนเข้ามาเยี่ยมชมบล็อก ไอเดียดี ๆ บ่อย ๆ คงจะคุ้นเคยกับอุปกรณ์ชนิดหนึ่ง ซึ่งใช้ในการจับยึดวัสดุเข้าด้วยกันแทนการใช้ตะปูหรือน็อต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วัสดุที่มีขนาดเล็กและรับน้ำหนักไม่มากกันมาบ้างแล้วน่ะนะคะ อุปกรณ์ชนิดนั้นก็คือ “ปืนยิงกาวร้อน” นั่นเองค่ะ
ปืนยิงกาวร้อน นั้น ประกอบด้วยส่วนใช้งานสองส่วนด้วยกัน นั่นก็คือส่วนที่มีลักษณะคล้ายปืน ทำหน้าที่เป็นตัวที่ทำความร้อนและช่วยให้เราสามารถติดกาวร้อนนั้นในบริเวณที่ต้องการได้สะดวก และอีกส่วนหนึ่งก็คือตัวกาวเอง ซึ่งมีลักษณะเป็นแท่ง คล้ายเทียนไข และจะละลายเป็นเนื้อกาวที่มีความเหนียวเมื่อเราใส่ไส้กาวลงไปในปืนซึ่งทำความร้อนจากกระแสไฟฟ้านอกจากใช้ในงานประดิษฐ์แล้ว ปืนยิงกาวร้อนยังสามารถใช้ซ่อมแซมอุปกรณ์และส่วนต่าง ๆ ของบ้านได้อีกด้วยค่ะ เนื่องจากคุณสมบัติของกาวที่สามารถยึดติดได้ดีในวัสดุหลายประเภท เช่น ไม้ พลาสติด ผ้า กล่องกระดาษ
ปัจจุบันนี้ปืนยิงกาวร้อนมีให้เลือกหลายขนาดค่ะ ที่เห็นตามท้องตลาดส่วนใหญ่จะแบ่งออกเป็นสองขนาดด้วยกัน คือ ปืนยิงกาวร้อนขนาดเล็ก (10-25W) ใช้กับแท่งกาวขนาดเล็ก ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 7 มม.และ ปืนยิงกาวร้อนขนาดใหญ่ (40-80W) ใช้แท่งกาวขนาดใหญ่ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 11.2 มม.
วิธีใช้ปืนยิงกาวร้อนนั้นมีดังนี้ค่ะ
1. บรรจุแท่งกาวลงในปืนยิงกาวร้อน
2. เสียบปลั๊กทิ้งไว้จนกาวร้อน ประมาณ 5-6 นาที สังเกตเมื่อบีบไกปืนจะมีเนื้อกาวไหลออกมา ควรรอจนกว่าจะสามารถบีบกาวออกมาได้สะดวกนะคะ ถ้าฝืนกดไกปืนในขณะที่ยังมีความร้อนไม่พอให้แท่งกาวละลาย ไกปืนจะแข็งมาก จนอาจทำให้ตัวยิงกาวพังได้ค่ะ
3. นำไปติดวัสดุที่ต้องการ
4. จับวัสดุที่ติดค้างไว้ประมาณ 1-2 นาที เพื่อให้กาวเย็นตัวลง
5. เมื่อเลิกใช้งานแล้วอาจมีปัญหาว่ากาวยังไม่ยอมหยุดไหล ให้จับแท่งกาวดึงถอยกลับมาเล็กน้อย กาวก็จะหยุดไหลได้สนิท
ข้อควรระวังในการใช้งานปืนยิงกาวร้อน
1. ควรทิ้งระยะให้ปืนกาวร้อนมากพอที่จะทำให้แท่งกาวละลาย และควรเว้นระยะให้ปืนกาวร้อนเต็มที่ก่อนจะนำไปติดชิ้นงานต่อไป
2. อย่าจับที่ปลายปืนกาวโดยเด็ดขาดเพราะมีความร้อนสูง
3. กาวที่ละลายจะมีัความร้อนสูงเช่นกัน ดังนั้นควรระวังไม่ให้โดนส่วนต่าง ๆ ของร่างกายขณะใช้งาน
4. ควรเพิ่มความระวังมากขึ้นเมื่อใช้ปืนกาวขนาดใหญ่ 40-80W เพราะความร้อนจะสูงกว่าปืนกาวขนาดเล็กค่ะ
วิธีใช้เทปพันเกลียว พันท่อน้ำไม่ให้ซึม ไม่ให้รั่ว
เคยเจอปัญหาท่อน้ำรั่วซึมหัวก๊อกตรง เทปพันเกลียว บ้างใหม จะแก้ปัญหานี้ง่ายมาก ถอดพันใหม่ก็ได้ จะเล่าวิธีใช้เทปพันเกลียว บอกว่างานพันท่อน้ำง่ายมาก มีวิธีพันเกลียวที่ใช้ได้ผล ไม่ต้องจ้างช่างมาซ่อม เพียงนำวิธีนี้ไปทำตามก็น่าจะช่วยได้แน่นอนคะ
วิธีการพันเทปพันเกลียว
- เริ่มจากใช้ผ้าเช็ดปลายท่อ อย่าให้มีผุ่นเกาะอยู่ หรือเอาดิน ทรายที่เกาะอยู่บริเวณเกลี่ยวออก ทั้งนี้เพื่อป้องกันเกลียวเสีย ตอนใส่ก๊อกน้ำ หรืออะไรก็แล้วแต่
ข้อต่อท่อ เกลียนอก |
- เอาปลายเทปพันเกลียวยึดติดกับเกลียวของท่อลักญษะดังรูปด่านล่าง โดยใช้มือซ้ายจับท่อ แล้วเอามือขวาจับเทปพันเกลียว แล้วหมุนตามเข็มนาฬิกา ดูรูป
พันเกลียวท่อน้ำ |
- การพันเกลียวจะต้องพันให้เทปพันเกลียวให้แน่น ให้เห็นซี่ของเกลียว โดยใช้ประโยชน์ของมือซ้ายและขวา โดยในขณะที่พัน มือทั้งสองจะต้องไม่ให้เทปพันเกลียวหย่อนเป็นอันขาด การพันจะต้องพันในแนวเดียวกับตัวของผู้พันเกลียว
ดึงเทปพันเกลียว ให้แน่นขณะพัน |
วิธีใช้เทปพันเกลียว พันท่อน้ำไม่ให้น้ำรั่ว |
ข้อควรจำ
ควรพันเทปพันเกลียวให้มากรอบเข้าไว้ ทั้งนี้เพื่อป้องกันการรั่วซึมของน้ำ เมื่อพันเสร็จให้ใช้แรงดึงให้เทปพันเกลียวขาด ทั้งนี้เพื่อความมั่นคงว่าเทปพันเกลียวยึดแน่นเกลียวของท่อน้ำแน่นอน
ลักษณะพันเกลียวเสร็จ |
กุญแจมาสเตอร์คีย์ คืออะไร มีกี่แบบ
สำหรับเพื่อน ๆ บล้อกที่กำลังจะเลือกซื้อกุญแจ เพื่อนำมาปิดล็อคประตูบ้าน หรือประตูทางเข้า-ออกที่สำคัญของอาคารสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ คงจะเคยเห็นกุญแจชนิดที่มี ลูกกุญแจชนิดมาสเตอร์คีย์ Master Key กันบ้างน่ะนะคะ
Master Key คือ กุญแจแบบใด ?
Master Key ก็คือ กุญแจ ที่มี ลูกกุญแจดอกเดียวที่สามารถเปิดลูกประตูได้หลายๆ บาน ซึ่งตอนนี้มีการออกแบบให้มาสเตอร์คีย์ซับซ้อนขึ้นมาก เนื่องจากต้องมีการคำนวนระบบ pin & ring ภายในที่ละเอียดอ่อน (ยิ่งมี pin และ ring มากก็ยิ่งทำกุญแจผียากขึ้นด้วย) เหมาะสำหรับบ้านที่มีการปิดล็อคกุญแจประตูหลายจุด และมีลูกกุญแจหลายดอกซึ่งแต่ละดอกก็ต้องใช้ไขแม่กุญแจต่างกัน อันจะเป็นการสร้างความยุ่งยากให้กับเจ้าของบ้านเมื่อเวลาจะเลือกหยิบลูกกุญแจไปใช้งานอย่างรวดเร็ว หรือในยามวิกฤติฉุกเฉิน เช่น เมื่อเกิดไฟไหม้ และจำเป็นต้องเปิดบ้าน หรือเปิดห้องเพื่อหนีออกมา หรือเพื่อหยิบสิ่งของสำคัญออกมาจากห้องที่เก็บไว้ จึงนับว่ามีความสะดวกและให้ความปลอดภัยต่อผู้ใช้งานได้ดีในระดับหนึ่ง
กุญแจมาสเตอร์คีย์ แบ่งเป็น 2 ชนิดด้วยกันค่ะ นั่นก็คือ
1. กุญแจมาสเตอร์คีย์ แบบมี ตัวคุม
กุญแจมาสเตอร์คีย์ แบบมีตัวคุม คือ กุญแจที่มีแม่กุญแจหลายตัุว และแต่ละตัวก็มีกุญแจที่สามารถไขแม่กุญแจของตัวเองได้ แต่ไม่สามารถไขแม่กุญแจตัวอื่นได้ แต่ก็จะมีกุญแจมาสเตอร์คีย์(ตัวคุม)ให้มาอีก 1 ตัว ซึ่งสามารถไขได้หมดทุกตัวน่ะนะคะ
2. กุญแจมาสเตอร์คีย์ แบบ คีย์อะไลท์
กุญแจมาสเตอร์คีย์ แบบคีย์อะไลท์ คือ กุญแจที่มีแม่กุญแจหลายตัว แต่จะมีลูกกุญแจมาให้เพียง 1 ตัวซึ่งสามารถไขตัวแม่กุญแจทั้งหมดออกได้ โดยราคาของคีย์อะไลท์จะถูกกว่า แบบมาสเตอร์คีย์แบบมีตัวคุมค่ะ